คำถามที่พบบ่อย
1. หน่วยงานต่างๆ จะเริ่มต้นใช้งานระบบบริหารสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างไร ?
  ตอบ : สามารถแจ้งความประสงค์เข้าใช้งานระบบได้ โดย "แจ้งเลขที่ ศธ ........." ของหน่วยงานท่านพร้อมกับแจ้งรายชื่อบุคลากรที่ดูแลการรับ-ส่ง หนังสือในแต่ละเลขที่ ศธ มาพร้อมกันด้วย ทั้งนี้ ในการแจ้งรายชื่อบุคลากรต้อง ประกอบด้วยข้อมูลดังนี้ คือ ชื่อ -สกุล , ตำแหน่ง ,ประเภทบุคลากร (ข้าราชการ/พนักงานมหาวิทยาลัย/ลูกจ้างประจำ/จ้างเหมาบริการ) และ Username ที่ใช้ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต
   
2. หากไม่มีเลขที่ ศธ . ทำอย่างไร ?
  ตอบ : ระบบบริหารสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ จะตรวจสอบการรับ-ส่งข้อมูลโดยถือเอาเลขที่ ศธ. เป็นหลัก ซึ่งเปรียบเสมือนบ้านเลขที่ โดยหากเปรียบกับการส่งจดหมายแล้ว จะไม่สามารถดำเนินการส่งได้ หากขาดข้อมูลบ้านเลขที่
   
3. บุคลากรประเภทบ้างที่สามารถเข้าใช้งานระบบบริหารสารบรรณอิเล็กทรอกนิกส์ได้ ?
  ตอบ : ระบบบริหารสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เชื่อมโยงข้อมูลผู้ใช้งานจาก 2 ระบบ ได้แก่ ระบบบัญชีรายชื่อผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมหาวิทยาลัย (Active Directory) และ ระบบบริหารงานบุคคล (DMS) โดยผู้ใช้งานจะต้องมีข้อมูลครบถ้วนทั้ง 2 ระบบ เพื่อทำการเก็บข้อมูลและยืนยันตัวตนการเข้าใช้งาน โดยปกติจะมีบุคลากรประเภทข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ/พนักงานมหาวิทยาลัย/ลูกจ้างชั่วคราว ที่ให้สามารถเข้าใช้งานได้ แต่เพื่ออำนวยความสะดวกและรองรับกับการปฏิบัติงาน จริงของหน่วยงานต่างๆในมหาวิทยาลัย จึงได้เพิ่ม Function ให้ผู้ใช้งานประเภทจ้างเหมาบริการ/ลูกจ้างอื่นๆ สามารถเข้าใช้งานระบบได้อีกด้วย
   
4. ระบบบริหารสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์สามารถ รับ- ส่ง หนังสือได้กี่ประเภท และส่งได้กี่หน่วยงาน?
 

ตอบ : สามารถรับ-ส่งหนังสือ ได้ในหน่วยงานทุกระดับ ดังนี้

  • สำนักงานอธิการบดี - สำนักงานอธิการบดี
  • สำนักงานอธิการบดี - คณะ
  • คณะ - คณะ ,
  • คณะ - หน่วยงานย่อยภายในของตนเอง
  โดยในระยะที่ 1 นี้ ระบบสามารถรับส่งหนังได้ 3 ประเภท คือ หนังสือเวียน / หนังสือภายใน /หนังสือภายนอก และรองรับการจัดหมวดหมู่ตามระเบียบหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
5. หากในหน่วยงานมีผู้ปฏิบัติงาน 1 ท่าน แต่ต้องดูแลเอกสาร (เลขที่ ศธ) หลายหน่วยงาน จะทำอย่างไร ?
  ตอบ : ระบบสามารถรองรับการใช้งานในรูปแบบ 1 User สามารถดูแลหลายเลขที่ ศธ ได้โดยหน่วยงานสามารถแจ้งความประสงค์มายังสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย เพื่อทำการเพิ่มสิทธิ์ให้